วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา  (วันพุธ08.30-10.10น.)  (วันพฤหัส12.20 - 15:00 น.)


ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมในวันนี้มีทั้งหมด 14 ชิ้น



ชิ้นที่ 1 วาดภาพตามจินตนาการด้วยสีน้ำ


ชิ้นที่ 2 หยดสีลงบนกระดาษ A4 จะหยดลงบนกระดาษเปียกหรือแห้งก็ได้
แต่ดิฉันเลือกกระดาษแห้ง


ชิ้นที่ 3  เทสี


ชิ้นที่ 4  เป่าสี


ชิ้นที่ 5 เป่าฟองสบู่


ชิ้นที่  6 กลิ้งสีด้วยลูกแก้ว


ชิ้นที่ 7 พับสี


ชิ้นที่ 8  พ่นสี


ชิ้นที่ 9 ย้อมสี


ชิ้นที่  10  จุดภาพด้วยสี (งานกลุ่ม) จุดโดยใช้คัลเตอร์บัล


ชิ้นที่ 11  เพ้นท์ก้อนหิน


ชิ้นที่  12  ละเลงสี (งานกลุ่ม)


ชิ้นที่ 13  ดึงเส้นด้ายด้วยสี


ชิ้นที่ 14  สลัดสีด้วยแปรงสีฟัน


กิจกรรมการใช้สีโปสเตอร์หรือสีน้ำในวันนี้ ถือว่าได้รับประสบการณ์การและเทคนิคต่างๆมากมายได้เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ที่เราไม่เคยรู้ว่าก่อนมาสามารถนำมาใช้ทำเป็นสื่อได้  เราสามารถหาวัสดุใกล้ตัวเรามาเรียนรู้และใช้กับสีน้ำได้โดยเราไม่ต้องใช้ดินสอวาดแล้วระบายเพียอย่างเดียว

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจทำงานทั้ง 14 ชิ้นได้อย่างเต็มความสามารถ อาจมีสวยบ้างไม่สวยบ้างแต่มันก็มาจากความสามารถและการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ทำ

เพื่อน :  ทุกคนตั้งใจทำงานกันมาก  มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันกัน ร่วมมือในการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว

อาจารย์ :  หาความรู้  หาประสบการณ์ใหม่ๆมาถ่ายทอดให้นักศึกษาได้เรียนรู้บอกเทคนิคการใช้สี  เทคนิคการทำผลงานให้ออกมาสวยงาม  







วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา  (วันพุธ08.30-10.10น.)  (วันพฤหัส12.20 - 15:00 น.)


ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมสีเทียน

สัปดาห์นี้มีงานทั้งหมด 10 ชิ้นดังต่อไปนี้

งานที่ 1 วาดรูประบายสีตามจินตนาการกับสีเทียน


งานที่ 2  ขูดสีเป็นรูปตามจินตนาการ


 งานที่ 3  ฝนภาพจากกระดาษทราย



งานที่ 4  ตัดภาพเป็นรูปตามจินตนาการด้วยกระดาษทราย


งานที่ 5 กิจกรรมปั้นดินเหนียว


งานที่  6  วาดสีเทียนระบายด้วยสีน้ำ

 วาดรูปสีเทียนด้วยสีขาวหรือสีเนื้อเพียงสีเดียว


 งานที่ 7 วาดรูปกับสีเทียนด้วยสีที่หลากหลายจากนั้นก็ขยัม


งานที่ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่ม คือ วาดภาพด้วยสีเทียนลงบนผ้าระบายให้สวยงามจากนั้นนำไปรีด


งานที่ 9 กิจกรรมกลุ่ม  สีเทียนร่วมใจ 
ให้จับสีเทียนคนละ 3-4 แท่ง


งานที่ 10 ฝนสีจากวัสดุต่างๆ



การประเมิน

ตนเอง : สามารถสร้างชิ้นงานได้สำเร็จทุกชิ้น แต่ผลงานที่ออกมายังไมดีเท่าที่ควรเพราะด้วยระยะเวลา และแรงกดดันจากเพื่อนที่เค้าทำเสร็จ ทำให้ได้รู้ถึงกระบวนการสร้างงานแต่ละชิ้น สามารถนำมาปรับปรุงให้สวยงามได้

เพื่อน  : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมของตนเอง และร่วมกันทำกิจกรรมจนสำเร็จ บรรยากาศในการทำกิจกรรมก็สนุกสนาน เฮฮาดี  ทุกคนตั้งใจที่จะทำผลงานของตนเองและกลุ่มออกมาได้ดี

อาจารย์ :  อาจารย์ได้นำเทคนิคที่หลากหลายมาถ่ายทอดให้นักศึกษา บางชิ้นงานก็ทำให้นึกว่าสามารถทำแบบนี้ได้  การเรียนในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ได้ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้ตอนเราไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครู 



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา  (วันพุธ08.30-10.10น.)  (วันพฤหัส12.20 - 15:00 น.)

ความรู้ที่ได้รับ
วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
>>วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
-กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ    ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น    
-การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสมไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ

สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
-สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
-สีเทียน ( Caryon )  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง    แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย  
-สีชอล์กเทียน (oil pasteal)  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก     
-สีเทียนพลาสติก (plastic crayon)  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก 
-สีเมจิก  (Water color)  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย
-ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)     บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
-ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
-ดินสอสี (color pencil) หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ

สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ
-สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่
-สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ
-สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
-สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้

สีจากธรรมชาติ
สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้

วัสดุในการทำศิลปะ
กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
2.  สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ

อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
สีเหลือง           ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
สีแดง   ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
สีเขียว เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
สีน้ำเงิน           เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
สีม่วง   เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
สีส้ม    ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
สีน้ำตาล          ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
สีดำ     เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
สีเทา    สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
สีขาว   สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
สีฟ้า     สว่าง มีชีวิตชีวา
สีชมพู ร่าเริง สดใส

งานที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์ได้แจกกระดาษให้มาคนละ 2 แผ่น ซึ่ง ให้วาดรูปสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต
นี่คือผลงานของหนู

สิ่งมีชีวิต "แมลงเต่าทอง"

สิ่งไม่มีชีวิต "รถบรรทุกของขวัญ"



จากนั้นอาจารย์ให้นำผลงาน 5 ชิ้นที่ได้ทำมาติดเรียงกันหน้าห้องเรียน


 ภาพต่อเติม

 ภาพ ออกแบบลวดลาย
ภาพ ลวดลายบนรูป

ภาพ สิ่งมีชีวิต

ภาพ สิ่งไม่มีชีวิต





การประเมินหลังการเรียน
          ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ 
           เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน ร่วมช่วยเหลืออาจารย์โดยการออกไปยกตัวอย่างสิ่งของ
           อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง วัสดุ อุปกรณ์เกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ยกตัวอย่างให้นักศึกษาทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น อาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ เช่น กะดาษ สี เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพจริงๆ แล้วอาจารย์ก็ให้ใบงานกลับมาทำเพื่อฝึกการคิดจินตนาการของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อให้ไปคิดว่าจะวาดรูปอะไรหรืออาจจะวาดมาก่อนก็ได้







วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา  (วันพุธ08.30-10.10น.)  (วันพฤหัส12.20 - 15:00 น.)

 ความรู้ที่ได้รับ ดังนี้

         ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์
ที่หลากหลาย ประสบการณ์ต่างๆเป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความเป็นจริงที่
เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ
การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 
     -ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕

     -ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน

     -พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ

     -ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย

     -ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงานศิลปะตลอดจนรู้จักเก็บรักษา 

และทำความสะอาดอย่างถูกต้อง 

     -ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม

     -เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     -นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

    ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะ

    - หลีกเลี่ยงการให้แบบ

    - ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก

    - ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ  

    - ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ

    - ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก และมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม


    การเตรียมการสอนศลิปะสำหรับเด็กปฐมวัย

    - การสร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
   
    - การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ 

    - การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน 

    - การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด (ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ)

    - การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ 

    - การจัดเก็บผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน


       **   เมื่อเรียนเสร็จอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ 3 ชิ้นกลับไปทำเป็นการบ้าน ดังนี้  **











การประเมิน

     ตนเอง : การเรียนการสอนครั้งนี้ถือว่าตนเองมีความสนใจปานกลาง ขาดความพร้อม

ในเรื่องของใบความรู้  

     เพื่อน : มีความสนใจในการเรียนค่อนข้างดี ส่วนใหญ่คุยกัน แต่ก็มีการตอบคำถามอาจารย์อยู่เสมอ

ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนดี โดยรวม ค่อนข้างดี

       อาจารย์ : มีการเตรียมความพร้อมในการสอนดีมาก มีการวางแผนการให้ชิ้นงานนักศึกษาเป็นอย่างดี

มีการอธิบายรายละเอียดชัดเจน สามารถนำความรู้ในการเรียนไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง โดยรวม

การสอนของอาจารย์ครั้งนี้